การสรุป

กำลังสร้าง



เทคนิกการสรุป
           การสรุป คือ วิธีการเขียนข้อความที่มีจำนวนมากให้เหลือเฉพาะส่วนที่มีความสำคัญจริงๆ เช่น หัวใจของเรื่องและประเด็นสำคัญ ซึ่งเป็นส่วน ที่มีคุณค่าสำหรับการบันทึกและจดจำ ตัดส่วนปลีกย่อยออกไป Webster’s เรียกการสรุปนี้ว่า “ความคิดทั่วไปในรูปแบบสั้นๆ” การสรุปคือ การกลั่นกรอง การควบรวมหรือการลดข้อความมากมายให้เหลือแต่ส่วนสำคัญ


ขณะที่สรุปจะต้องทำอะไรบ้าง
           ผู้เรียนจะกำจัดข้อความหรือตัวอย่างที่ไม่จำเป็นหรือฟุ่มเฟือยออกไป ผู้เรียนจะต้องพยายามหาประเด็นสำคัญของเรื่อง โดยผู้เรียนพยายามที่จะ หาคำสำคัญและข้อความที่สำคัญจากเรื่องที่อ่าน แล้วพยายามหาใจความสำคัญและ รายละเอียดที่จำเป็นที่ใช้ในการเขียนสนับสนุนใจความ สำคัญของเรื่องเมื่อผู้สอน


ให้ผู้เรียนเขียนสรุปเรื่องที่อ่าน ผู้สอนจะพบว่าผู้เรียน
           1.เขียนข้อความทุกข้อความที่ให้สรุปลงไปทั้งหมด
           2.เขียนข้อความที่ไม่มีประโยชน์
           3.เขียนประโยคเต็มๆ
           4.เขียนมากเกินไป
           5.เขียนไม่เพียงพอ
           6.คัดลอกคำต่อคำมา
           7.ผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนทำอะไรบ้างเมื่อผู้เรียนต้องเขียนสรุปเรื่องที่อ่าน
           8.ดึงใจความสำคัญออกมา
           9.สนใจในข้อมูลสำคัญ
           10.ใช้คำหรือวลีที่สำคัญ
           11.ตัดใจความที่เยิ่นเย้อ
           12.เขียนในสิ่งที่เพียงพอต่อการนำไปสู่หัวใจของเรื่อง
           13.ใช้คำที่รวบรัดแต่ยังคงใจความสำคัญ
ผู้สอนจะสอนให้ผู้เรียนเขียนสรุปเรื่องที่อ่านได้อย่างไร
           ผู้สอนโปรดระลึกไว้เสมอว่า การสอนสรุปใจความสำคัญเป็นเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ แต่เป็นเรื่องที่ยากที่สุดสำหรับผู้เรียนที่จะเรียนและสามารถ เขียนสรุปเรื่องที่อ่านได้ และเป็นวิธีที่ยากที่สุดที่ผู้สอนจะสอนให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถเขียนสรุปเรื่องที่อ่านได้ ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนหมั่น ฝึกฝนและให้เวลาในการฝึกฝนวิธีนี้ วิธีนี้เป็นสิ่งที่มีค่าและมีประสิทธิภาพอย่างมาก ผู้สอนคงไม่อยากให้ผู้เรียนจบออกไปโดยไม่สามารถสรุป ใจความสำคัญได้เลย หลายครั้งที่ผู้สอนให้ผู้เรียนเขียนสรุปเรื่องที่อ่าน แต่ผู้สอนอาจจะไม่ได้สอนเทคนิคที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้เรียน
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างในการสอนวิธีเขียนสรุปเรื่องที่อ่าน ผู้สอนลองใช้เทคนิคนี้ 1 เทคนิค หรืออาจจะใช้ทั้งหมด แต่ขอให้พยายามกระตุ้นให้ ผู้เรียนได้ใช้มากและบ่อย หากใช้จนเป็นนิสัยและมีความสามารถเขียนสรุปเรื่องที่อ่านแล้ว ผู้เรียนจะผันตนเองเป็น “ผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learners)”
           1.หลังจากให้ผู้เรียนใช้วิธีขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญ (selective underlining) แล้ว ให้ผู้เรียนเอากระดาษปิดข้อความสำคัญที่ผู้เรียน ได้ขีดเส้นไว้ แล้วให้ผู้เรียนพยายามเขียนย่อหน้าสรุปข้อความสำคัญที่ผู้เรียนได้ขีดเส้นไว้โดยการนึกเอา เขียนให้ได้มากที่สุดเท่าที่ จะทำได้ ผู้เรียนสามารถให้พลิกกลับมาเพื่อดูข้อความสำคัญที่ผู้เรียนได้ขีดเส้นไว้ได้ หากเมื่อเขียนแล้วไม่ทราบว่าจะเขียนอะไรต่อ หรือ คิดไม่ออก ผู้เรียนสามารถให้พลิกกลับไปกลับมาหลายครั้งได้เพื่อดูข้อความที่ผู้เรียนได้ขีดเส้นไว้และตรวจสอบการเขียนสรุปของตน ให้แน่ใจว่าได้ “ข้อความสำคัญ” แล้ว เมื่อเขียนสรุปเสร็จควรมีความยาวประมาณ 1 ย่อหน้า
           2.พยายามให้ผู้เรียนเขียนสรุปมาให้สั้นลงเรื่อย ๆ โดยที่ใจความที่สำคัญและข้อมูลที่เกี่ยวข้องยังคงมีอยู่ โดยเริ่มจากเขียนสรุปครึ่งหน้า แล้วเขียนสรุปให้ลดลงเหลือสองย่อหน้า ย่อหน้าเดียว 2-3 ประโยค และประโยคเดียวในตอนสุดท้าย
           3.ให้ผู้เรียนอ่านหนังสือพิมพ์และเขียนประโยคหรือวลีเดียวที่บ่งบอกถึงคำตอบเฉพาะสำหรับคำถามที่ถามเกี่ยวกับ ใคร (who) อะไร (what) เมื่อไร (when) ที่ไหน (where) ทำไม (why) และ อย่างไร (how)
           4.ตัดเฉพาะบทความจากหนังสือพิมพ์มาโดยไม่มีหัวเรื่อง แล้วให้ผู้เรียนเขียนหัวเรื่องจากบทความนี้ หรือ  ให้ผู้เรียนจับคู่บทความ กับหัวเรื่อง


Pat Widdowson จาก Surry County Schools ใน North Carolina สหรัฐอเมริกา ได้ทดลองใช้วิธีนี้กับผู้เรียน คือ ให้ผู้เรียนทำ กิจกรรม อาจเป็นการโฆษณาหรือส่งโทรเลข กำหนดให้คำ 1 คำ มีราคา 10 เซนต์ ให้ผู้เรียนเขียนข้อความได้มากเท่าที่ผู้สอนกำหนดเป็น จำนวนเงินสูงสุดให้ เช่น เมื่อผู้สอนกำหนดเงินที่ผู้เรียนมีมากที่สุดเช่น 2 เหรียญ ผู้เรียนก็จะสามารถเขียนได้สูงสุด 20 คำเท่านั้น วิธีนี้เป็น เทคนิคการฝึกฝนการสรุปใจความได้อีกแบบหนึ่ง